Welcome to World Cool Engineering

ท่อและข้อต่อระบบ

 

ให้บริการจัดจำหน่าย ติดตั้ง ทดสอบ ท่อ, ข้อต่อ นำเข้าจากยุโรป รวมทั้งเครื่องมือ pressing เพื่อใช้ในระบบ ดังต่อไปนี้ เช่น ระบบท่อดับเพลิง,ระบบท่อน้ำร้อน, ระบบท่อน้ำดี, ระบบท่อน้ำเสีย และระบบ่อจ่ายก๊าซ โดยไม่ต้องใช้วิธีการเชื่อม แบบเดิมๆ ทำให้การบริหารเวลาของโครงการดำเนินได้รวดเร็วขึ้น ขณะปฎิบัติงานไม่ก่อให้เกิดประกายไฟ...ตัด "เนื่องจาก" หลังปฏิบัติงานออก ไม่จำเป็นต้องมีบุคลากรทางช่างผู้ชำนาญในการเชื่อม ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้ต้นทุนโดยรวมลดลง ท่อและข้อต่อ ผลิตตามมาตราฐานยุโรป UNI ENISO9001 และได้รับการรับรองจากเยอรมัน เพื่อใช้กับ คุณภาพน้ำดื่ม certification DVGW W534,ก๊าซติดไฟ Certification DVGW G260 และ G5614 , มาตราฐาน UN EN 12845 และ UNI 10779 สำหรับระบบ sprinkler และ fire fighting ส่วนการรับรองจากเยอรมัน จะเป็น certification Vds 2344/2100-26 นอกจากท่อและข้อต่อ ดังกล่าวยังได้รับมาตราฐาน ABS ของอเมริกา ท่อและข้อต่อสามารถทำงานที่ความดันสูงสุด 16 บาร์และอุณหภูมิทำงานสูงสุด 180 องศาเซลเซียส วัสดุที่ใช้ทำท่อมีทั้ง สแตนเลส สตีล 316L (Stainless Stel) ,คาร์บอน สตีล (Carbon Steel) และ คอบโปรนิคเกิล (Cupronickle) โดยมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง DN12-DN100

คุณลักษณะของ ท่อและข้อต่อ ระบบ  Pressfittings

  1. ใช้งานง่ายโดยไม่ต้องเชื่อม
  2. เพราะบุคคลทั่วไปก็สามารถใช้งานระบบ Pressfittings ได้ จึงประหยัดค่าใช้จ่ายในการจ้างช่างเชื่อมฝีมือ อีกทั้งยังสามารถประหยัดเวลาในการทำงานได้ถึง 10 เท่า เมื่อเทียบกับการเชื่อมโดยใช้ความร้อน
  3. ข้อต่อและท่อของระบบ Pressfittings ถูกผลิตขึ้นจากวัสดุที่เหมาะสมกับการใช้งานแต่ละประเภท เช่น วัสดุที่ทำมาจากสเตนเลสจะเหมาะสมกับการใช้งานกับน้ำดื่ม แก๊ส ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย ระบบปรับอากาศและเครื่องทำความร้อนและระบบเครื่องอัดลม ส่วนวัสดุที่ทำมาจากคาร์บอนสตีลจะเหมาะสมกับการใช้งานกับระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย ระบบปรับอากาศและเครื่องทำความร้อนและระบบเครื่องอัดลม
  4. มีความทนทานต่อการใช้งานไม่ต่างจากการเชื่อมท่อด้วยความร้อน เช่น สามารถทนแรงดันได้มากถึง 16 bar และสามารถทนอุณหภูมิตั้งแต่ -20 ๐C จนถึง 120 ๐C และมีคุณสมบัติต้านทานการกัดกร่อนและการเกิดสนิมไม่ต่างจากสเตนเลสและคาร์บอนสตีลทั่วไป

คำแนะนำในการติดตั้ง

  1. การตัดท่อ
    ต้องทำการวัดระยะก่อนตัดท่อเพื่อให้การตัดมีความแม่นยำและควรใช้เครื่องมือตัดท่อหรือใบตัดที่เหมาะสมกับชนิดของท่อ เช่น ท่อสเตนเลสควรใช้ใบตัดที่ทำจากสเตนเลส ท่อเหล็กควรใช้กับใบตัดที่ทำจากเหล็ก อีกทั้งควรคำนึงถึงการเผื่อระยะในการใส่ท่อเข้าข้อต่อชนิดต่างๆ เพื่อทำการ Press อีกด้วย ควรหลีกเลี่ยงเครื่องมือเหล่านี้:
    • เครื่องมือที่อาจทำให้ท่อเหล็กเสียรูปทรง
    • ไม่ควรใช้เครื่องพ่นไฟหรือล้อเจียรเพราะอาจทำให้เหล็กเสียรูปทรงจากความร้อน
    • ไม่ควรใช้เครื่องมือที่อาจก่อให้เกิดการเสียดสีบริเวณพื้นผิวของท่อเหล็ก
  2. การลบคมหลังการตัด
    ต้องทำการลบคมทั้งภายในและภายนอกทุกครั้งหลังตัดท่อ ผู้ใช้สามารถใช้เครื่องลบคมแบบไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ลบคมด้วยมือ เพื่อหลีกเลี่ยงการฉีกขาดที่อาจเกิดกับโอริง (O-ring) ในขณะใส่ท่อเข้าข้อต่อ หากโอริง (O-ring) เกิดการฉีกขาดอาจก่อให้เกิดการรั่วไหล อีกทั้งควรทำความสะอาดเศษเหล็กหรือเศษฝุ่นทั้งภายในและภายนอกท่อ
    ข้อควรระวัง: 90% ของการรั่วไหลเกิดจากการที่ผู้ใช้ไม่ทำตามคำแนะนำการติดตั้งด้านบน
  3. ตรวจเช็คสภาพและตำแหน่งของโอริง (O-ring)
    ควรทำการตรวจสอบสภาพแหละตำแหน่งของโอริง (O-ring) ทุกครั้งก่อนเสียบท่อเข้าข้อต่อ หากต้องการหล่อลื่นท่อและข้อต่อควรใช้น้ำเปล่าหรือแป้งเท่านั้น ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารหล่อลื่นประเภทน้ำมันหรือกาว   
  4.  การใส่ท่อเข้าข้อต่อและการทำสัญลักษณ์เพื่อกำหนดตำแหน่ง
    ควรใส่ท่อเข้าข้อต่อเป็นแนวตรงและหมุนท่อเล็กน้อยเพื่อลดแรงเสียดทาน อีกทั้งควรทำสัญลักษณ์เพื่อกำหนดจุดสิ้นสุดที่ท่อจะสามารถใส่เข้าไปในข้อต่อได้ โดยใช้อุปกรณ์วัดระยะท่อเพื่อง่ายต่อการตรวจสอบย้อนหลังหากท่อมีการเลื่อนออกจากตำแหน่งเดิมหลังทำการบีบข้อต่อแล้ว
    หากทำตามขั้นตอนการใส่ท่อเข้าข้อต่อเป็นแนวตรงและหมุนท่อเล็กน้อยเพื่อลดแรงเสียดทานแล้ว แต่ยังไม่สามารถใส่ท่อเข้าข้อต่อได้ ก็ไม่ควรฝืนใส่เข้าไปเพราะอาจทำให้โอริง (O-ring) เลื่อนหลุดจากตำแหน่งและเกิดการฉีกขาด ควรเปลี่ยนไซส์ท่อหรือข้อต่ออันใหม่
    ควรวางแผนจัดรูปแบบการเดินท่อก่อนใช้เครื่องมือบีบ แต่หากมีความจำเป็นต้องจัดแนวท่อใหม่ภายหลัง ควรหลีกเลี่ยงการใช้กำลังในการขยับหรือเคลื่อนย้ายท่อ
  5. การใช้ตัวจับยึดกับท่อที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 54 มิลลิเมตรขึ้นไป
    การใช้ตัวจับยึดกับท่อและข้อต่อเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 54 มิลลิเมตรขึ้นไปจะทำให้ข้อต่อกับตัวท่อไม่เลื่อนหลุดจากกันในระหว่างการบีบ
  6. การประกอบเครื่องมือบีบ
    เครื่องบีบจำเป็นต้องใช้หัวบีบชนิด M (M Profile) และควรเลือกใช้หัวบีบให้เหมาะสมกับขนาดของข้อต่อ
    จำเป็นต้องใช้ชนิดของหัวบีบดังนี้:
    -    หัวบีบสำหรับข้อต่อเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 ถึง 35 มิลลิเมตร
    -    หัวบีบสำหรับข้อต่อเส้นผ่านศูนย์กลาง 42 ถึง 108 มิลลิเมตร (สำหรับข้อต่อเส้นผ่านศูนย์กลาง 42 ถึง 108 มิลลิเมตร จำเป็นต้องมีอแดปเตอร์เพื่อช่วยเสริมแรงบีบตามคำแนะนำในคู่มือประกอบการใช้งานและติดตั้ง)
    ข้อควรระวัง: ควรจับเครื่องมือบีบให้ถูกต้องเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
  7. การบีบ
    เพื่อให้การบีบมีประสิทธิภาพมากที่สุด ก่อนทำการบีบควรสังเกตร่องด้านในหัวบีบให้ประกบกับรอยนูนโอริง (O-ring) บนข้อต่อ จากนั้นการบีบจะเสร็จสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อส่วนปลายของหัวบีบประกบติดกัน อีกทั้งควรทำการบีบเพียง 1 ครั้งเท่านั้น และเป็นเรื่องปกติหากมีรอยนูนเกิดขึ้นบริเวณร่องโอริง (O-ring) ของข้อต่อภายหลังการบีบเสร็จสิ้น
    ข้อควรระวัง: ไม่ควรทดลองบีบเครื่องมือโดยที่ไม่มีท่อหรือข้อต่อรองรับ เนื่องจากแรงบีบมหาศาลอาจส่งผลให้ระบบภายในของเครื่องเกิดความผิดปกติได้  

CONTACT INFO

World Cool Engineering Co.,Ltd. (Head Office)

191/17 Moo3 Lamlukka Road, Latsawai, Lamlukka, Pathumthani 12150

SUBSCRIBE

fb google line youtube 

  • Tel : 02-563-3157 – 8
  • Fax : 02-563-3158 Ext. 17
  • Mobile : 064-953-9747

>>> ดาวน์โหลด Brochure

MAP